เกณฑ์การจบหลักสูตรเพื่อรับเกียรติบัตร
1. จะต้องมีผลการสอบวัดผลก่อนเรียน
2. จะต้องมีผลการสอบวัดผลหลังเรียนและต้องผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80%
3. จะต้องทำแบบประเมินความพึงพอใจ
การรายงานการบริหารงบประมาณด้านการศึกษาของสถานศึกษา
หน่วยตรวจสอบภายใน
หลักสูตร การรายงานการบริหารงบประมาณด้านการศึกษาของสถานศึกษา
หลักการบริหารงบประมาณจะต้องคำนึงถึง หลักประสิทธิภาพ หลักความคุ้มค่า และสามารถตรวจสอบและเปิดเผยต่อสาธารณะได้ โดยการรายงานการบริหารงบประมาณด้านการศึกษาของสถานศึกษา (ระบบบัญชีทางการเงินด้านการศึกษา)นับเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถใช้เป็นกรอบในการรวบรวม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการจัดสรร และการใช้จ่ายทรัพยากรด้านการศึกษาของสถานศึกษา ความเข้าใจถึงแหล่งที่มาของทรัพยากรและการกระจายทรัพยากร ทางการศึกษาระดับต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย โดยเฉพาะในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ แนวทางการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและการใช้จ่าย ที่จำเป็น สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษานอกจากนี้ยังช่วยบ่งบอกถึงความเพียงพอของทรัพยากร ด้านการศึกษา สามารถพัฒนาระบบบัญชีการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับใช้ในการกำกับ ติดตามการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้ใช้การรายงานข้อมูลผ่านเว็บไซต์ https://e-budget.jobobec.in.th
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ระบบการรายงานการบริหารงบประมาณด้านการศึกษา ของสถานศึกษา
2. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1. ตรวจสอบการรายงานข้อมูลในระบบบัญชีของสถานศึกษา ให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
2. กำกับ ติดตาม ให้สถานศึกษารายงานข้อมูลตามเวลาที่กำหนด
3. ตอบข้อหารือ ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสถานศึกษา
ระดับสถานศึกษา
1. ศึกษาข้อมูลคู่มือการรายงานข้อมูลทางการเงินสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://e-budget.jobobec.in.th และเว็บไซต์กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน http://psdg-obec.go.th
2. รายงานข้อมูลทางการเงินผ่านเว็บไซต์ https://e-budget.jobobec.in.th จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 การรายงานข้อมูลระบบบัญชีของสถานศึกษา 6 เดือนแรก
ครั้งที่ 2 การรายงานข้อมูลระบบบัญชีของสถานศึกษา 6 เดือนหลัง
3. ตรวจสอบการรายงานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
เนื้อหา เนื้อหาของแบบรายงาน แบ่งเป็น 5 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน และข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริง
ส่วนที่ 2 รายงานเงินคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน
ส่วนที่ 3 รายรับของโรงเรียน
ส่วนที่ 4 รายจ่ายของโรงเรียน
ส่วนที่ 5 รายงานเงินคงเหลือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนและข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริง
1.1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน
1) โรงเรียนกรอก รหัสโรงเรียน ชื่อผู้กรอกแบบรายงาน และเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่
– ชื่อผู้กรอกแบบรายงาน และเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ (ที่สามารถติดต่อได้) สำหรับการประสานงานกรณีที่ข้อมูล
มีความคลาดเคลื่อน
– รหัสโรงเรียน หมายถึง per_code โรงเรียน 6 หลัก โรงเรียนสามารถดูได้จากบัญชีจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนโครงการขยายโอกาสการเข้าบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
2) ผู้กรอกข้อมูล ตรวจสอบชื่อโรงเรียนให้ถูกต้อง และยืนยัน เพื่อป้องกันการบันทึกข้อมูลผิดโรงเรียน
3) ผู้รับรองข้อมูล ระบุชื่อผู้รับรองข้อมูลและเบอร์โทรศัพท์ของผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อรับรองข้อมูลที่โรงเรียนได้รายงานในระบบว่ามีความถูกต้อง
1.2 ข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริง
จำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริง หมายถึง จำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริงทั้งหมดใน (นับบุคลากรที่มาช่วยปฏิบัติราชการ ไม่นับที่ไปช่วยปฏิบัติราชการที่อื่น) จำแนกตามรายการ/ตำแหน่ง/ประเภท ครั้งที่ 1 ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน และครั้งที่ 2 ณ วันที่ 10 มิถุนายน ดังนี้ 1. ผู้อำนวยการโรงเรียน หมายถึง จำนวนผู้บริหารโรงเรียนกรอก 1 หรือ กรณีที่เป็นตำแหน่งว่างกรอก 0 (กรณีโรงเรียนสาขาให้นับที่โรงเรียนหลัก)
2. รองผู้อำนวยการโรงเรียน หมายถึง จำนวนรองผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงานจริง
3. ครู หมายถึง จำนวนครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานจริงไม่นับครูที่ไปช่วยราชการทุกกรณี
4. ครูมาช่วยราชการ หมายถึง จำนวนครูที่มาช่วยราชการจากโรงเรียนอื่น หากมีครูมาช่วยราชการจะต้องนำเงินเดือนมาคำนวณรวมกับเงินเดือนของครูในโรงเรียนด้วย
5. ครูอัตราจ้าง (เงินงบประมาณ)
6.ครูอัตราจ้าง (เงินจากแหล่งอื่นๆ) หมายถึง
หมายถึง จำนวนครูอัตราจ้างที่จ้างด้วยเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจาก สพฐ.หรือ สพป.เช่น ครูอัตราจ้างขั้นวิกฤติ ครูอัตราจ้างรายเดือน
จำนวนครูอัตราจ้างที่จ้างจากเงินบำรุงการศึกษา เงินบริจาค รายได้สถานศึกษา หรือเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น เช่นจากท้องถิ่น เป็นต้น
7. พนักงานราชการ (ครู) หมายถึง จำนวนพนักงานราชการในตำแหน่งครูผู้สอนเท่านั้น เช่น พนักงานราชการ (ครูผู้สอน) พนักงานราชการ (ทดแทนครูที่ขอย้าย) พนักงานราชการ (วิทยากรอิสลาม) เป็นต้น
8. พนักงานราชการ (นอกเหนือจากครู) หมายถึง จำนวนพนักงานราชการที่ไม่ใช่ตำแหน่งครูผู้สอน เช่นพนักงานราชการ (ครูธุรการ), พนักงานราชการ (ช่างครุภัณฑ์) เป็นต้น
9. ครูธุรการโครงการคืนครูให้นักเรียน หมายถึง จำนวนธุรการโครงการคืนครูให้นักเรียน ในกรณีที่ธุรการ 1 คน ปฏิบัติหน้าที่มากกว่า 1 โรงเรียน ให้นำจำนวนโรงเรียนมาหารก่อน เช่น ปฏิบัติหน้าที่ 2 โรงเรียน กรอก 0.50 หรือ ปฏิบัติหน้าที่ 3 โรงเรียน กรอก 0.33 เป็นต้น
10. บุคลากรทางการศึกษา 38 ค.(2) หมายถึง จำนวนบุคลากรทางการศึกษา 38 ค.(2) ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน (ไม่อนุญาตให้กรอก หากโรงเรียนมีบุคลากรดังกล่าวให้ติดต่อผู้ดูแลระบบ)
11. นักการภารโรง หมายถึง จำนวนนักการภารโรงที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน เช่น ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างรายเดือน หรือจ้างเหมาบริการ รายเดือน เป็นต้น
12. พนักงานขับรถ หมายถึง จำนวนพนักงานขับรถที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน
13. ช่างไฟฟ้า ช่างไม้ ช่างครุภัณฑ์
ช่างอื่นๆ หมายถึง จำนวนช่างประเภทต่างๆที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน
14. เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ หมายถึง จำนวนผู้ปฏิบัติงานประจำห้องปฏิบัติการ เช่น Lab Boy
เป็นต้น
15. พี่เลี้ยงเด็กพิการ หมายถึง จำนวนพี่เลี้ยงเด็กพิการที่ทำหน้าที่ผู้ช่วยครูจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนพิการ
16. อื่นๆ หมายถึง จำนวนผู้ปฏิบัติงานอื่น นอกเหนือ ข้อ 1-15 เช่น บรรณารักษ์ แม่บ้าน พยาบาล และยาม เป็นต้น
ส่วนที่ 2 รายงานเงินคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน
รายงานเงินคงเหลือ หมายถึง รายงานเงินคงเหลือของโรงเรียน ณ วันที่ 30 กันยายน เพื่อให้ทราบจำนวนเงินที่โรงเรียนสามารถใช้จ่ายได้ในปีงบประมาณถัดไป เมื่อโรงเรียนกรอกแล้วระบบจะประมวลผลเชื่อมโยงไปส่วนที่ 3 รายรับของโรงเรียน (รวมเป็นจำนวนเงินที่โรงเรียนสามารถใช้จ่ายได้หรือส่งคืนเป็นเงินรายได้แผ่นดินในปีงบประมาณปัจจุบัน) ประกอบด้วย
1. เงินกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี หมายถึง งบประมาณที่โรงเรียนเบิกจ่ายได้ไม่หมดในปีงบประมาณที่ผ่านมา และโรงเรียนขอกันเงินไว้สำหรับเบิกจ่ายในปีงบประมาณถัดไป หรือแจ้งให้ สพม. หรือ สพป.กันเงินไว้ จะมีค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และอื่นๆ (ไม่ใช่เงินอุดหนุน)
2. เงินรายได้แผ่นดินคงเหลือ หมายถึง เงินที่โรงเรียนจัดเก็บหรือรับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หรือจากนิติกรรม ที่กำหนดไว้ว่าโรงเรียนไม่สามารถนำมาใช้ได้ต้องส่งคืนเป็นเงินรายได้แผ่นดิน คงเหลืออยู่บัญชีของโรงเรียน ประกอบด้วย
2.1 ค่าขายของเบ็ดเตล็ด
2.2 ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด
2.3 เงินอุดหนุนทั่วไปที่เหลือจ่ายเกิน 2 ปีงบประมาณ
2.4 ดอกเบี้ยเงินฝากฯ
2.5 อื่นๆ
3. เงินนอกงบประมาณคงเหลือ หมายถึง เงินนอกงบประมาณของโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้
จากทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ คงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน ของปีถัดมา ดังนี้
3.1 เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเรียนฟรี 15 ปี (โครงการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ) ประกอบด้วย
(1) รายหัว
(2) ค่าหนังสือเรียน
(3) ค่าอุปกรณ์การเรียน
(4) ค่าเครื่องแบบนักเรียน
(5) ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
(6) ปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน
(7) ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน โดยโรงเรียนสามารถกรอกจำนวนเงินที่คงเหลืออยู่ในทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณประเภทต่างๆ ณ วันที่ 30 กันยายน
3.2 เงินอุดหนุนทั่วไป (นอกเหนือจาก ข้อ 3.1) ประกอบด้วย
ค่าจ้างครูและบุคลากร (ได้รับจากท้องถิ่น)
ค่าอาหารกลางวัน (ได้รับจากท้องถิ่น)
โครงการเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน
เงินอุดหนุนทั่วไปอื่นๆ คงเหลือ เช่น ทุนการศึกษา, ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียน
ที่มีความสามารถพิเศษ... เป็นต้น
3.3 - 3.11 หมายถึง เงินนอกงบประมาณคงเหลือ จากทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณประเภทต่าง ๆ ตามรายการในข้อ 3.3 ถึง 3.11 ณ วันที่ 30 กันยายน
3.12 อื่น ๆ หมายถึง เงินนอกงบประมาณคงเหลือจากทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณประเภทต่าง ๆ (นอกเหนือจากจากรายการข้อ 3.1-3.11)
4. เงินอื่นๆ คงเหลือ หมายถึง เงินคงเหลือ นอกจากข้อ 1, 2 และ 3
ส่วนที่ 3 รายรับของโรงเรียน ปีงบประมาณปัจจุบัน
รายรับของโรงเรียน หมายถึง จำนวนงบประมาณ/เงินที่โรงเรียนได้รับจากทุกแหล่ง และโรงเรียนได้บันทึกรายการรับในบัญชี หรือทะเบียนคุมเงิน หรือเอกสารอื่น (ไม่รวมสิ่งของที่โรงเรียนได้รับ เช่นอาหารเสริม (นม) , อาคารเรียน หรือ โต๊ะ-เก้าอี้ เป็นต้น เพื่อสะท้อนรายรับจริงของโรงเรียนจากแหล่งต่าง ที่โรงเรียนนำมาใช้จ่ายเพื่อการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย
1. งบประมาณคงเหลือจากปีงบประมาณที่ผ่านมา หมายถึง งบประมาณหรือเงินคงเหลือทุกประเภท
ณ วันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา ที่โรงเรียนสามารถใช้จ่ายได้ในปีงบประมาณปัจจุบัน โดยระบบจะเชื่อมโยงมาให้จากส่วนที่ 2 กรณีที่โรงเรียน พบว่าจำนวนเงินคงเหลือยกมา ไม่ถูกต้อง ให้โรงเรียนกลับไปแก้ไขในส่วนที่ 2
2. งบประมาณที่ได้รับจากหน่วยงานต้นสังกัด หมายถึง งบประมาณที่โรงเรียนได้รับจาก สพฐ. /สพป.
ได้แก่ งบเงินอุดหนุน งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบลงทุน
2.1 งบเงินอุดหนุน
โครงการเรียนฟรี หรือโครงการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ หมายถึง เงินอุดหนุนโครงการเรียนฟรี ที่สพฐ./สพป. โอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนโดยตรง
จำนวน 7 รายการ ประกอบด้วย
(1) รายหัว
(2) ค่าหนังสือเรียน
(3) ค่าอุปกรณ์การเรียน
(4) ค่าเครื่องแบบนักเรียน
(5) ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
(6) ปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน
(7) ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน
2.2 งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป นอกเหนือจาก 2.1
ประกอบด้วยเงินโครงการเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน และอื่น ๆ เช่น เงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนประจำเงินอุดหนุนทุนการศึกษา..., ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ... เป็นต้น
2.3 งบบุคลากร หมายถึง เงินเดือนและค่าจ้างประจำ ค่าตอบแทนพนักงานราชการ และเงินที่จ่ายควบเงินเดือน ดังนี้
- เงินเดือน ประกอบด้วย เงินเดือนของ ผอ.โรงเรียน, รอง ผอ.โรงเรียน, ข้าราชการครู (รวมข้าราชการครูที่มาช่วยราชการ)
- ค่าจ้างประจำ ประกอบด้วย ค่าจ้างประจำนักการภารโรง และค่าจ้างประจำของบุคลกรในตำแหน่งอื่นด้วย
- ค่าตอบแทนพนักงานราชการ เช่น ค่าตอบแทนพนักงานราชการ (ครู) และค่าตอบแทนพนักงานราชการ (นอกเหนือจากครู) เป็นต้น
- เงินอื่นที่จ่ายควบกับเงินเดือน เช่น เงินประจำตำแหน่ง, เงินวิทยฐานะ, เงินค่าตอบแทนรายเดือนสำหรับข้าราชการ เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.), เงินเบี้ยกันดาร (บก.), เงินพ.ค.ศ., เงิน ส.ป.พ., พ.ต.ก. และเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของลูกจ้างประจำ เป็นต้น กรณีที่ได้รับเงินวิทยฐานะหรือเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับงบบุคลากรตกเบิกให้กรอกเพิ่มด้วย
** กรณีที่บุคลากรมีการย้าย/บรรจุ ระหว่างช่วงเวลาการจัดเก็บข้อมูล ให้กรอกจำนวนเงินตามจำนวนที่รับในระหว่างที่ปฏิบัติงานจริงในโรงเรียน
2.4 งบดำเนินงาน หมายถึง ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค ที่โรงเรียนได้รับจัดสรรจาก สพฐ.สพป. และโรงเรียนได้จัดส่งเอกสารเบิกจ่ายกับกรมบัญชีกลาง/สพป. หรือที่ สพป.เบิกแทนให้โรงเรียน ดังนี้
(1) ค่าจ้างครูและบุคลากร หมายถึง ค่าจ้างครูและบุคลากรที่ สพฐ./สพป. จัดสรรอัตราให้โรงเรียน (ส่วนใหญ่ สพป.ทำหน้าที่เบิกจ่ายแทนโรงเรียน หรือโรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิกดำเนินการเบิกเอง) ลักษณะทำสัญญาจ้างรายเดือน เช่น ครูอัตราจ้างขั้นวิกฤติครูสาขาขาดแคลน ค่าจ้างครู/บุคลากรปฏิบัติงานในโรงเรียนโครงการพระราชดำริ /โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ / โรงเรียนศึกษาพิเศษ /โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ธุรการโครงการคืนครูให้นักเรียน ค่าจ้างนักการภารโรงทดแทนอัตราเกษียณ วิชาชีพท้องถิ่น / ผู้เชี่ยวชาญกีฬา เป็นต้น ยกเว้นค่าจ้างธุรการโครงการคืนครูให้นักเรียน ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ และค่าจ้างพี่เลี้ยงเด็กพิการ ที่ให้กรอกใน(2) (3) และ (4)
(2) ค่าจ้างธุรการโครงการคืนครูให้นักเรียน หมายถึง ค่าจ้างบุคลากรที่ทำหน้าที่ธุรการในโรงเรียน กรณีที่ปฏิบัติหน้าที่มากกว่า 1 โรงเรียนให้นำจำนวนโรงเรียนมาหารก่อน เช่นปฏิบัติหน้าที่ 2 โรงเรียน ให้นำเงินเดือนหารด้วย 2 ก่อน เป็นต้น
(3) ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ หมายถึง ค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานประจำห้องปฏิบัติการ เช่น Lab Boy และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
(4) ค่าจ้างพี่เลี้ยงเด็กพิการ หมายถึง ค่าจ้างพี่เลี้ยงเด็กพิการที่ทำหน้าที่ผู้ช่วยครูจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนพิการ
(5) ค่าตอบแทนพิเศษเงินเดือนเต็มขั้น หมายถึง ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับข้าราชการ/ลูกจ้างประจำที่ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูง หรือใกล้ถึงขั้นสูงของระดับตำแหน่ง
(6) ค่าตอบแทนวิทยากร/ครูผู้สอนศาสนาอิสลาม หมายถึง ค่าตอบแทนวิทยากรรายชั่วโมง หรือค่าตอบแทนครูสอนศาสนาอิสลามศึกษารายชั่วโมง
(7) ค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนสำหรับข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ
(8) เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หมายถึง เงินที่นายจ้าง (สพฐ./สพป.อปท.) สมทบกับลูกจ้างสำหรับนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม
(9) ค่าเช่าบ้าน หมายถึง ค่าตอบแทนซึ่งทางราชการจ่ายให้กับข้าราชการที่มีสิทธ์เบิกค่าเช่าบ้าน/เช่าซื้อ ได้ตามระเบียบกรณีที่บุคลากรมีการจ้างระหว่างช่วงเวลาการจัดเก็บข้อมูล ให้กรอกจำนวนเงินตามจำนวนที่ได้รับในระหว่างที่ปฏิบัติงานจริงในโรงเรียน
(10) ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ หมายถึง ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ ที่ สพฐ./สพป.จัดสรรให้โรงเรียนสำหรับซ่อมแซมครุภัณฑ์ที่ชำรุด
(11) ค่าปรับปรุง / ขยายเขตระบบไฟฟ้า ประปา หมายถึง ค่าใช้สอยที่ สพฐ./สพป.จัดสรรให้โรงเรียน สำหรับเป็นค่าติดตั้งระบบไฟฟ้า และประปา
(12) ค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น หมายถึง ค่าใช้สอยที่ สพฐ./สพป.จัดสรรให้โรงเรียน สำหรับเป็นค่าซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น
(13) สำหรับดำเนินการต่างๆ หมายถึง งบดำเนินงานที่โรงเรียนได้รับจัดสรรจาก สพฐ./สพป. นอกเหนือ
จาก (1) - (12) เช่น โครงการต่างๆ, ค่าพาหนะนักเรียน, ค่าเช่าที่ดิน, ค่าอินเทอร์เน็ต, ค่าซ่อมรถจักรยาน,ค่าหนังสือห้องสมุด, ค่าบำรุงศูนย์กีฬา, ค่าวัสดุ, ค่าอาหารทำการนอกเวลา และค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
2.5 งบลงทุน หมายถึง ค่าครุภัณฑ์ และค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประกอบด้วย
(1) ค่าครุภัณฑ์ หมายถึง งบประมาณที่โรงเรียนได้รับจัดสรรจาก สพฐ./สพป. สำหรับจัดซื้อสิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานยืนนาน เมื่อชำรุดเสียหายแล้วสามารถซ่อมแซมใช้งานได้ดังเดิม
(2) ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมายถึง งบประมาณที่โรงเรียนได้รับจัดสรรจาก สพฐ./สพป. สำหรับจัดจ้างเป็นค่าค่าก่อสร้าง / ซ่อมแซม กรณีที่ได้รับจัดสรรเป็นงบรายจ่ายอื่นที่กำหนดให้เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน ดังนี้
(2.1) ค่าก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น (ค่าก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ส้วม สนามกีฬา ฯลฯ)
(2.2) ค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น ค่าปรับปรุงภูมิทัศน์
3. เงินที่ได้รับจากหน่วยงานของรัฐอื่นๆ หมายถึง งบประมาณที่โรงเรียนได้รับจาก จังหวัด กลุ่มจังหวัด โรงเรียน หรือจากหน่วยงานของรัฐอื่นที่ไม่ใช่ สพฐ./สพป. เพื่อให้โรงเรียนดำเนินการต่างๆ ดังนี้
3.1 รับจากโรงเรียนมารวม, โรงเรียนสาขา และโรงเรียนอื่นๆ ประกอบด้วย
(1) รายหัว
(2) ค่าหนังสือเรียน
(3) ค่าอุปกรณ์การเรียน
(4) ค่าเครื่องแบบนักเรียน
(5) ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
(6) ปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน
(7) ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน
(8) โครงการเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน
(9) เงินบำรุงการศึกษา
(10) เงินบริจาค
(11) เงินรายได้สถานศึกษา (รวมเงินค่าปรับจากการผิดสัญญา)
(12) อื่น ๆ นอกเหนือจาก รายการใน (1) ถึง (11)
3.2 ค่าจ้างครูและบุคลากร หมายถึง ค่าจ้างครูและบุคลากร ที่จังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด หรือหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่สพฐ. /สพป. จัดสรรให้ กรณีที่ได้รับจัดสรรค่าจ้างครูและบุคลากรจากท้องถิ่นให้กรอกในข้อ 4.1
3.3 สำหรับการดำเนินการและจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นรายรับที่นอกเหนือจาก ข้อ 3.1 และ3.2 เช่น โครงการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ จากจังหวัด โครงการค่ายนักเรียนต้านยาเสพติด จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น
4. เงินที่ได้รับจาก อปท. หมายถึง งบประมาณที่โรงเรียนได้รับจาก อบจ. เทศบาล หรือ อบต. เพื่อให้โรงเรียนดำเนินการตามที่ระบุไว้ ประกอบด้วย
4.1 ค่าจ้างครูและบุคลากร (ได้รับจากท้องถิ่น)
4.2 ค่าอาหารกลางวัน (ได้รับจากท้องถิ่น)
4.3 สำหรับการดำเนินการต่างๆ (นอกเหนือจากข้อ 4.1 และ 4.2) เช่น โครงการแข่งขันกีฬา และจัดงานวันเด็ก
เป็นต้น กรณีที่ได้รับมาเป็นกลุ่มโรงเรียนให้นำจำนวนโรงเรียนมาหารก่อน
5. เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินนอกงบประมาณของโรงเรียนที่ได้รับตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน หรือเงินที่ได้รับอนุญาตให้เก็บไว้ ใช้จ่ายได้ตาม พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502
มาตรา 24 (ไม่รวมเงินอุดหนุนทั่วไป) และโรงเรียนได้บันทึกบัญชีในทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ ประกอบด้วย
5.1 เงินบำรุงการศึกษา
5.2 เงินบริจาค
5.3 เงินรายได้สถานศึกษา (รวมเงินค่าปรับจากการผิดสัญญา)
5.4 เงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน กยศ.
5.5 เงินประกันสัญญา
5.6 เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากสัญญาซื้อ/จ้างของโรงเรียน
5.7 เงินลูกเสือ
5.8 เงินเนตรนารี/ผู้บำเพ็ญประโยชน์
5.9 เงินยุวกาชาด 5.10 สำหรับดำเนินการต่างๆ หมายถึง จำนวนเงินจากทะเทียนคุมเงินนอกงบประมาณอื่นที่นอกเหนือจาก ข้อ 5.1 - 5.9
6. เงินรายได้แผ่นดิน หมายถึง เงินที่โรงเรียนจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
ที่กำหนดไว้ว่าโรงเรียนไม่สามารถนำมาใช้ได้ต้องส่งคืนเป็นเงินรายได้แผ่นดิน ประกอบด้วย
6.1 ค่าขายของเบ็ดเตล็ด
6.2 ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด
6.3 เงินอุดหนุนทั่วไปที่เหลือจ่ายเกิน 2 ปีงบประมาณ
6.4 ดอกเบี้ยเงินฝากฯ
6.5 อื่นๆนอกเหนือจากข้อ 6.1 - 6.4
ส่วนที่ 4 รายจ่ายของโรงเรียน
รายจ่ายของโรงเรียน หมายถึง รายจ่ายสำหรับการบริหารจัดการโรงเรียนทั้ง 5 ด้าน คือ 1. ด้านการบริหารงานวิชาการ 2. ด้านการบริหารงานบุคคล, 3. ด้านการบริหารงบประมาณ, 4. ด้านการบริหารทั่วไป และ 5. ด้านกิจการนักเรียน โดยใช้เงินที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ ในส่วนที่ 3 รายรับของโรงเรียน ปีงบประมาณปัจจุบัน
โรงเรียนสามารถกรอกรายจ่ายที่ได้ใช้จ่ายจริงในรายการที่กำหนดไว้ในช่องรายจ่าย และกรอกจำนวนงบประมาณให้ตรงกับประเภทของงบประมาณ/เงินที่กำหนดไว้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ
1. เงินงบประมาณ หมายถึง รายจ่ายของโรงเรียนที่จ่ายจากเงินที่ได้รับจัดสรรจาก สพฐ. /สพป. และหน่วยงานของรัฐอื่น ตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่กำหนดให้ใช้จ่ายได้ในปีงบประมาณนั้นๆ คืองบบุคลากร (รายจ่ายเท่ากับรายรับ ระบบจะทำการเชื่อโยงให้) งบดำเนินงาน งบลงทุน (กรณีโรงเรียนเบิกไม่หมดภายในปีงบประมาณนั้น โรงเรียนสามารถกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้) การเบิกจ่ายโรงเรียนอาจจัดซื้อ จัดจ้าง แล้วตั้งเบิกจ่ายกับกรมบัญชีกลาง หรือ ส่งหลักฐานเบิกจ่ายที่ สพฐ./สพป. หรือสพป. เบิกแทนให้ เช่น งบบุคลากร และค่าจ้างครูหรือบุคลากร เป็นต้น โรงเรียนสามารถหาข้อมูลส่วนหนึ่งได้จากสลิปเงินเดือน หรือทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก
2. เงินนอกงบประมาณ หมายถึง รายจ่ายที่กฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน หรือเงินที่ได้รับอนุญาตให้เก็บไว้ใช้จ่ายได้ ตาม พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 24 เป็นรายจ่ายที่มีข้อกำหนดตามประเภทของเงิน เช่น เงินอุดหนุนทั่วไป โดยทั่วไปโรงเรียนสามารถหาข้อมูลได้จากทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ ดังนี้
2.1 โครงการเรียนฟรี เป็นเงินที่โรงเรียนได้รับการโอนเงินอุดหนุนจาก สพฐ./ สพป. เมื่อโรงเรียนได้รับการโอนเงินและส่งใบสำคัญรับเงินล้างหนี้เรียบร้อยแล้วได้ลงบัญชีในสมุดคุมเงินประเภทเงินนอกงบประมาณ โรงเรียนสามารถใช้จ่ายได้ภายใน 2 ปีงบประมาณ ประกอบด้วย เงินอุดหนุนทั่วไป จำนวน 7 รายการ คือ
(1)เงินรายหัว
(2)ค่าหนังสือเรียน
(3)ค่าอุปกรณ์การเรียน
(4)ค่าเครื่องแบบนักเรียน
(5)ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
(6)ปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน
(7)ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน สำหรับจัดทำโครงการใช้จ่ายตามระเบียบ และแนวทางที่กำหนด
(การบริหารงานวิชาการ, งานบุคคล, งบประมาณ, บริหารทั่วไป และกิจการนักเรียน)
2.2 เงินบำรุงการศึกษา เป็นรายจ่ายที่จ่ายจากเงินบำรุงการศึกษา
2.3 เงินบริจาค เป็นรายจ่ายที่จ่ายจากเงินบริจาค ทั้งที่มีวัตถุประสงค์ และไม่มีวัตถุประสงค์
2.4 เงินรายได้สถานศึกษา เป็นรายจ่ายที่จ่ายจากเงินรายได้สถานศึกษา
2.5 อื่นๆ ประกอบด้วย รายจ่ายจากเงินนอกงบประมาณ นอกเหนือจาก ข้อ 2.1 - 2.4
เช่น รายจ่ายจากเงินที่ได้จาก อปท. (ค่าจ้างครูและบุคลากร ค่าอาหารกลางวัน และสำหรับการดำเนินการต่างๆ)
3. เงินรายได้แผ่นดิน หมายถึง เงินที่โรงเรียนจัดเก็บ หรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติบุคคล และไม่มีกฎหมายอื่นใดกำหนดให้โรงเรียนเก็บไว้ หรือหักไว้เพื่อจ่าย เป็นรายจ่ายที่โรงเรียนต้องนำส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดินตามระเบียบ รายการนี้ถ้าโรงเรียนไม่มียอดเงินในส่วนที่ 2
(เงินคงเหลือยกมา) และส่วนที่ 3 (รายรับ) จะกรอกรายจ่ายในส่วนที่ 4 ไม่ได้
ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลรายจ่ายของโรงเรียนให้โรงเรียนพิจารณาแหล่งเงินเบิกจ่าย/ จัดซื้อ/ จัดจ้างว่ามาจากแหล่งใด หรือทะเบียนคุมเงินใดแล้กรอกให้ตรงช่อง เช่น เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ โครงการเรียนฟรี เงินบำรุงการศึกษา เงินบริจาค เงินรายได้สถานศึกษา เงินนอกงบประมาณ อื่นๆ หรือเงินรายได้แผ่นดิน เพื่อระบบจะได้ตัดยอดเงินได้ถูกต้อง
รายจ่ายของโรงเรียน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ด้านการบริหารงานวิชาการ หมายถึง รายจ่ายที่โรงเรียนใช้จ่ายเพื่อการจัดการเรียนสอน ยกระดับคุณภาพนักเรียน ประกอบด้วย
1.1 โครงการ/กิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนปฏิบัติการประจำปี (ไม่รวมข้อ 1.2-1.7) หมายถึง รายจ่ายของโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปีที่โรงเรียนใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
1.2 หนังสือห้องสมุด หมายถึง รายจ่ายเพื่อจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด
1.3 หนังสือเรียน หมายถึง รายจ่ายเพื่อจัดซื้อหนังสือให้นักเรียนตามโครงการเรียนฟรี
1.4 อุปกรณ์การเรียน หมายถึง เงินที่จ่ายให้ผู้ปกครอง/ โรงเรียนดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์ให้นักเรียนตามโครงการเรียนฟรี
1.5 เครื่องแบบนักเรียน หมายถึง เงินที่จ่ายให้ผู้ปกครอง/โรงเรียนดำเนินการจัดซื้อเครื่องแบบให้นักเรียนตามโครงการเรียนฟรี
1.6 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หมายถึง รายจ่ายที่โรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4 รายการตามที่ สพฐ.กำหนด
1.7 อื่นๆ หมายถึง รายจ่ายของโรงเรียนด้านการบริหารวิชาการนอกเหนือจากข้อ (1.1) - (1.6)
กรณีที่โรงเรียนมีรายจ่ายค่าหนังสือห้องสมุด, ค่าหนังสือเรียน, ค่าอุปกรณ์การเรียน, ค่าเครื่องแบบนักเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน รวมอยู่ในโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปี ให้โรงเรียนแยกกรอกตามรายการที่กำหนด เนื่องจาก สพฐ.ต้องการทราบยอดรายจ่ายจริงในรายการดังกล่าว
กรณีที่โรงเรียนได้รับจัดสรรเงินค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน และค่าเครื่องแบบนักเรียนไม่เพียงพอ จำเป็นต้องยืมเงินจากค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน /เงินรายหัวมาใช้ก่อน ให้โรงเรียนกรอกข้อมูลรายรับและรายจ่ายจริง ระบบจะทำการตัดยอดเงินให้เอง
2. ด้านการบริหารงานบุคคล หมายถึง รายจ่ายที่เป็นเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนผู้บริหาร ครู และบุคลากรของโรงเรียน โครงการพัฒนาบุคลากรฯ และอื่นๆ ดังนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากร
(1) งบบุคลากร หมายถึง เงินเดือน, ค่าจ้างประจำ, ค่าตอบแทนพนักงานราชการ และเงินอื่นๆที่จ่ายควบพร้อมเงินเดือน ช่องนี้โรงเรียนไม่ต้องกรอกเนื่องจากระบบจะทำการเชื่อมโยงมาจากส่วนที่ 3 ข้อ 2.3 หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องให้กลับไปแก้ไขในส่วนที่ 3 ข้อ 2.3
(2) ค่าจ้างครูอัตราจ้างรายเดือน โดย สพฐ. หมายถึง ครูอัตราจ้างที่ สพฐ. จัดสรรให้และทำสัญญาจ้างรายเดือนจากงบประมาณ สพป. จะเบิกจ่ายให้
ส่วนที่ 3 ข้อ 2.4 (1) หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องให้กลับไปแก้ไขในส่วนที่ 3 ข้อ 2.4 (1)
(3) ค่าจ้างครูอัตราจ้างรายเดือน โดย อปท. หมายถึง ครูอัตราจ้างที่ อปท.จัดสรรให้และทำสัญญาจ้างรายเดือน
(4) ค่าจ้างครูอัตราจ้างรายเดือน โดย เงินอื่นๆ หมายถึง ครูอัตราจ้างที่จ้างจากเงินนอกงบประมาณที่โรงเรียนจัดทำสัญญาจ้างรายเดือนจากเงินอุดหนุนรายหัว (โครงการเรียนฟรี) เงินบำรุงการศึกษา เงินบริจาค เงินรายได้สถานศึกษา และเงินจากการระดมทรัพยากร
(5) ค่าจ้างธุรการโครงการคืนครูให้นักเรียน หมายถึง ค่าจ้างบุคลากรที่ทำหน้าที่ธุรการแทนครู รายการนี้ระบบจะทำการเชื่อมโยงมาจาก ส่วนที่ 3 ข้อ 2.4 (2)
(6) ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ให้กรอกข้อมูลตรงตามแหล่งงบประมาณ
(7) ค่าจ้างพี่เลี้ยงเด็กพิการ พี่เลี้ยงเด็กพิการที่ทำหน้าที่ผู้ช่วยครูจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนพิการ รายการนี้ระบบระบบจะทำการเชื่อมโยงมาจากส่วนที่ 3 ข้อ 2.4 (4)
(8) ค่าตอบแทนวิทยากรบุคคลภายนอกรายชั่วโมง หมายถึง ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลภายนอกรายชั่วโมง
(9) ค่าจ้างบุคลากรอื่นๆ หมายถึง หมายถึง การจ้างบุคลากรนอกจาก (2) - (8) ที่ทำสัญญาจ้างรายเดือน เช่น บรรณารักษ์, พยาบาล, แม่บ้าน, แม่ครัว, พนักงานทำความสะอาด, คนงานดูแลสวน, เป็นต้น
(10) ค่าตอบแทนพิเศษเงินเดือนเต็มขั้น หมายถึง จำนวนเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับข้าราชการ/ลูกจ้างประจำที่ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูง หรือใกล้ถึงขั้นสูงของระดับตำแหน่ง รายการนี้ไม่ต้องกรอก ระบบจะเชื่อมโยงมาจากส่วนที่ 3 ข้อ 2.4 (5)
(11) ค่าตอบแทนวิทยากร/ครูผู้สอนศาสนาอิสลาม หมายถึง ค่าตอบแทนวิทยากรสอนศาสนาอิสลามศึกษารายชั่วโมงรายการนี้ไม่ต้องกรอก ระบบจะเชื่อมโยงมาจากส่วนที่ 3 ข้อ 2.4(6)
(12) ค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนสำหรับข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษรายการนี้ไม่ต้องกรอก ระบบจะเชื่อมโยงมาจากส่วนที่ 3 ข้อ 2.4(7)
(13) เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หมายถึง เงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่นายจ้างเป็นผู้จ่าย เช่น สพฐ., อปท. และโรงเรียน เป็นต้น รายการนี้ใน